เมนู

ไปดู ต้องอาบัติทุกกฏ ยืนอยู่สถานที่ใดมองเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พ้นสายตาไปแล้วกลับมามองดูอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ไปดูอย่างหนึ่ง ๆ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ยืนดูอยู่ในสถานที่ใดมองเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ พ้นสายตาไป
แล้วกลับมามองดูอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร


[297] ยืนอยู่ในอารามมองเห็น 1 เดินไปหรือเดินมาแลเห็น 1 มี
กิจธุระเดินไปพบเข้า 1 มีอันตราย 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้อง
อาบัติแล.
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ 1 จบ

อรรถกถาจิตตาคารวรรคที่ 5


อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ 1


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 1 แห่งจิตตาคารวรรค พึงทราบดังต่อไปนี้:-
บทว่า ราชาคารํ ได้แก่ โรงละครหลวง.
บทว่า จตฺตาคารํ ได้แก่ ศาลาแสดงจิตรกรรมน่าเพลิดเพลิน.
บทว่า อารามํ ได้แก่ สวนที่เป็นสถานที่หย่อนใจ.
บทว่า อุยฺยานํ ได้แก่ อุทยานเป็นที่หย่อนอารมณ์.
บทว่า โปกฺขรณึ ได้แก่ สระโบกขรณีเป็นที่สำหรับเล่นกีฬา เพราะ
เหตุนั้นแล ในบทภาชนะ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสคำว่า ยตฺถ กตฺถจิ
รญฺโญ กีฬิตุํ
เป็นต้น.

ในคำว่า ทสฺสนาย คจฺฉติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นี้ พึงทราบ
วินิจฉัยดังนี้:- เป็นทุกกฏ โดยนับย่างเท้า.
ก็ในคำว่า ยตฺถ ฐิตา ปสฺสติ นี้ มีวินิจฉัยว่า ถ้าภิกษุณียืนใน
ที่เดียวนั่นแหละ ไม่ยกเท้าไปมาดูอยู่ถึง 5 ครั้ง ก็เป็นปาจิตตีย์ตัวเดียวเท่านั้น.
แต่เมื่อภิกษุณีมองดูทิศภาคนั้น ๆแล้วดูอยู่ เป็นอาบัติ แยกออกไปหลายตัว.
แต่เป็นทุกกฏแก่ภิกษุในที่ทั้งปวง.
สองบทว่า อาราเม ฐิตา มีความว่า ชนทั้งหลายสร้างพระราชวัง-
หลวงเป็นต้นใกล้อารามที่อยู่ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุณีมองเห็นพระราชวังหลวง
เป็นต้นนั้น.
สองบทว่า คจฺฉนฺตี วา อาคจฺฉนฺตี วา มีความว่า มองเห็น
พระราชวังหลวงเป็นต้นนั้น ซึ่งมีอยู่ใกล้ทางของภิกษุณีผู้เดินไปเพื่อประโยชน์
แก่บิณฑบาตเป็นต้น ไม่เป็นอาบัติ.
คำว่า สติ กรณีเย คนฺตฺวา มีความว่า ภิกษุณีไปยังราชสำนัก
ด้วยกิจจำเป็นบางอย่าง แล้วเห็น ไม่เป็นอาบัติ.
บทว่า อาปทาสุ มีความว่า ภิกษุณีถูกอันตรายบางอย่างรบกวน
หลบเข้าไปแล้วเห็นไม่เป็นอาบัติ. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญา-
วิโมกข์ อจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา 3 แล.
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ 1 จบ

จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ 2


เรื่องภิกษุณีหลายรูป


[298] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ทั้งหลายนั่งนอนบนตั่งบ้าง บนแคร่บ้าง คนทั้งหลายเที่ยวชมวิหารพบเห็นแล้ว
พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุณีจึงได้ใช้ตั่งบ้าง แคร่
บ้าง เหมือนสตรีคฤหัสห์ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวก
ภิกษุณีจึงได้ใช้ตั่งบ้าง แคร่บ้าง เล่า . . .

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุณีใช้ตั่งบ้าง แคร่บ้าง จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
ภิกษุณีจึงได้ใช้ตั่งบ้าง แคร่บ้างเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-